ผลลัพธ์เพิ่มเติม...

Generic selectors
ตรงทั้งหมดเท่านั้น
ค้นหาในหัวข้อ
ค้นหาในเนื้อหา
Post Type Selectors

จากสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัญหาสาคัญของประเทศไทย คนไทยยังประสบปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเป็นจานวนมาก ทั้งขาดแคลนที่อยู่อาศัย และการไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย รัฐบาลได้เล็งเห็นความสาคัญจึงให้ความสาคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้า สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ รวมถึงการมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยผ่านโครงการต่างๆ โดยเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย สานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ (กอช.) พ.ศ. 2551 กาหนดให้คณะกรรมการมีอานาจหน้าที่สาคัญในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนบริหารจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาติต่อคณะรัฐมนตรี สารวจความต้องการและกาหนดเป้าหมายการพัฒนาที่อยู่อาศัย พิจารณาแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องต่างๆ กาหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการบริหารจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย พิจารณาในการส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ส่งเสริมการมีส่วนร่วม กากับและติดตามการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัยแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธาน และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านนโยบายและแผนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัย
  2. ด้านการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย
  3. ด้านกฎหมายและระเบียบเพื่อที่อยู่อาศัย

จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้การเคหะแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการรวบรวมและจัดหาข้อมูลเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สานักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง

ตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน ซึ่งได้กาหนดกลยุทธ์และแนวทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ 3 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายด้านที่อยู่อาศัย
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสในการมีที่อยู่อาศัย
กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบ

โดยกลยุทธ์ที่ 3 มีแนวทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ คือ
จัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” เพื่อบูรณาการฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยให้เป็นฐานเดียวกัน สนับสนุนการพัฒนาและบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ/องค์ความรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและการจัดทารายงานวิเคราะห์สถานการณ์ที่อยู่อาศัยต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน สร้างและพัฒนาช่องทางการเข้าถึงความต้องการด้านที่อยู่อาศัย เช่น การสารวจลงทะเบียน ข่าวประชาสัมพันธ์ Application Website การนาเสนอ Message

ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ จึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองประชาชนที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัย และเป็นการบูรณาการฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยที่กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นฐานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในระดับท้องถิ่น และในระดับประเทศให้มีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทุกพื้นที่ โดยจะส่งผลดีต่อประชาชนให้ได้เข้าถึงข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนาข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่อยู่อาศัยเพื่อสนับสนุนการจัดทานโยบายที่อยู่อาศัยของประเทศให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นด้วยโดยการดาเนินงานการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยมีแผนการดาเนินเป็น 3 ระยะดังนี้

Process Image

ระยะที่ 1 (พ.ศ.2560-2563) MOU

บูรณาการข้อมูลกับภาคีเครือข่ายและเชื่อมโยงข้อมูล

Process Image

ระยะที่ 2 (พ.ศ.2564-2565) Data Catalog

พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลให้มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่ สพร. กำหนด

Process Image

ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2567) Analysis - Dashboard

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ มิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และจัดทำ Visualization

Process Image

ระยะที่ 4 (พ.ศ.2568-2570) Analytical AI

ยกระดับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

Data Set

ชุดข้อมูลบริการ 12 หมวด

โดยแต่ละหมวดประกอบไปด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานภายนอกที่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยหรือเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย

2561 - 2565

ผลการดำเนินงาน

2561

เปิดศูนย์เป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2561 โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พม. ขณะนั้นเป็นประธาน

Process Image
Process Image

- แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน
- กคช. หารือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น DEPA, REIC, DGA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
- ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อน 1/2562

2562

2562

- แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน
- กคช. หารือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น DEPA, REIC, DGA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
- ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อน 1/2562

Process Image

2563

- ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กคช. กับ สนค. และ GBDi โดย GBDi ได้พัฒนาแบบจำลอง Customer Segmentation และ Credit Scoring
- ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อน 1/2563
- ประชุมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฟน., กปภ., กฟภ. และ REIC
- จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Workshop Metadata และ Design Thinking Canvas กับรัฐและเอกชน

Process Image
Process Image

- ประชุมหารือเชื่อมโยงข้อมูลโครงการบ้านมั่นคงและบ้านพอเพียงของ พอช.
- ประชุมหารือเชื่อมโยงข้อมูล พม. ร่วมกับ กคช., กยผ.สป.พม., ศทส.สป.พม. และ พอช.
โดยมีแนวทางจัดทำมาตรฐานข้อมูลกลางร่วมกันและจัดทำ Application Credit Scoring
และพัฒนา Application Personalized Recommendation Model

2564

2564

- ประชุมหารือเชื่อมโยงข้อมูลโครงการบ้านมั่นคงและบ้านพอเพียงของ พอช.
- ประชุมหารือเชื่อมโยงข้อมูล พม. ร่วมกับ กคช., กยผ.สป.พม., ศทส.สป.พม. และ พอช.
โดยมีแนวทางจัดทำมาตรฐานข้อมูลกลางร่วมกันและจัดทำ Application Credit Scoring
และพัฒนา Application Personalized Recommendation Model

Process Image

2565

- เริ่มพัฒนา Hardware Software และบุคลากร เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีมาตรฐาน
- เชื่อมโยงชุดข้อมูล Open Data จากหน่วยงานต่าง ๆ ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- จัดทำ MOU เพื่อขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลฯ ร่วมกับ 14 หน่วยงานเมื่อวันที่ 24 ก.พ.66
- ได้รับรางวัล Excellent Open Data Hub ในงาน Digi Data Awards 2022 เมื่อ 25 พ.ย. 65

Process Image